สรุปเรื่องเกี่ยวกับโครงการศูนย์ประชุมนานาชาติเบญจสิรินธารา
๑.
หนังสือที่
มห ๐๐๑๖.๒/ว๓๔๘ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
จังหวัดมุกดาหารมีหนังสือเชิญประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวการจัดทำแผนงาน/โครงการที่จำนวนไม่เกิน
๑๐ โครงการ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมนอกสถานที่ในวันที่ ๒๒กุมภาพันธ์
๒๕๕๕ ณ จังหวัดอุดรธานี
๒.
วันที่ ๑๕-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการโครงการศูนย์ประชุมนานาชาติเบญจสิรินธารา ผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
๓.
หนังสือที่ นร
๑๑๑๕/๐๙๙๒ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีข้อเสนอ แผนงาน/โครงการด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการบริการสังคม
สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงบประมาณ เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ
เร่งศึกษาความพร้อมด้านพื้นที่ดำเนินการ บุคลากรเฉพาะทาง
และการสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนเสนอขอรับการจัดสรรงบจังหวัดหรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๕๖ ตามขั้นตอน
๔.
หนังสือที่ นร ๐๕๐๖/ว(ล) ๔๖๘๗ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบในหลักการและกรอบวงเงิน
ตามที่สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณเสนอ
๕.
หนังสือ
ศธ.๐๕๐๓(๔) /ว๓๒๒ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถึง
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดอุดรธานี
เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
โดยในข้อเสนอแผนงาน/โครงการดังกล่าวมีโครงการที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีรับผิดชอบอยู่ในส่วนของแผนงาน/โครงการด้านสิ่งแวดล้อมและเกษตร
ด้านโครงการพื้นฐานและโลจิสติกส์ ด้านเศรษฐกิจ และด้านบริการสังคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งศึกษาความเหมาะสมของโครงการและจัดทำรายละเอียดโครงการและแนวทางดำเนินงานเพิ่มเติมโดยเฉพาะการเตรียมพร้อมด้านพื้นที่ดำเนินการ
บุคลากรเฉพาะทาง
และการสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนเสนอขอรับการจัดสรรงบจังหวัดหรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๕๖ ตามขั้นตอน
๖.
วันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รับทราบหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา “เพื่อไม่ให้กระทบต่อกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
๒๕๕๖ ของมหาวิทยาลัย ขอให้จังหวัดมุกดาหารดำเนินการเสนอขอตั้งงบประมาณ
และกรุณาพิจารณาดำเนินการเตรียมความพร้อมด้านพื้นที่ดำเนินการ บุคลากรเฉพาะทาง
การสร้างการมีส่วนร่วมฯ โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนข้อมูลด้านการศึกษา/วิชาการ
๗.
หนังสือที่
ศธ ๐๕๒๙/๙๖๖ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถึงจังหวัดมุกดาหาร
เรื่อง ขอหารือและขอความกรุณาพิจารณาดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับ “โครงการศูนย์ประชุมนานาชาติเบญจสิริธารา”
๑. ชื่อโครงการ “ศูนย์ประชุมนานาชาติเบญจสิรินธารา”
๒. เหตุผลความจำเป็น
เนื่องจากในปี พ.ศ.
๒๕๕๘ เป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระเจริญพระชนมพรรษา
๖๐ พรรษา (๕ รอบ) จังหวัดมุกดาหารทุกหมู่เหล่าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์จึงจัดสร้างศูนย์ประชุมเพื่อเฉลิมพระเกียรติและจัดนิทรรศการประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาส ๖๐ พรรษา เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองประวัติมุกดาหาร
อีกทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น
ศูนย์ประชุมดังกล่าวสามารถจะรองรับการจัดประชุมสัมมนาอาเซียน การแสดงสินค้าอาเซียน
การแสดงนิทรรศการหน่วยงานกระทรวงต่างๆ
อันจะสนับสนุนยุทธศาสตร์ของจังหวัดมุกดาหารในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา
การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงและเชื่อมโยงอาเซียน
ความหมายของชื่อศูนย์ประชุมนานาชาติเบญจสิรินธารา
เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดที่สามารถเชื่อมต่อไปสู่นานาชาติไม่ว่าจะเป็น
ลาว เวียดนาม จีน อีกทั้งจังหวัดมุกดาหารมีแม่น้ำโขง (ธารา) ที่ไหลผ่านหลายประเทศ
จีน ลาว ไทย กัมพูชา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา (๕ รอบ) และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในด้านต่างๆ ต่อประชาชนที่อาศัยในลุ่มน้ำโขงไม่ว่าจะเป็นจีน
พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ดังนั้น
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านจึงเห็นควรขอพระราชทานนามอาคารศูนย์ประชุมนานาชาติว่า
“ศูนย์ประชุมนานาชาติเบญจสิรินธารา”
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาส ๖๐ พรรษา ใน พ.ศ.๒๕๕๘
๓.๒
เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของจังหวัดมุกดาหารในด้านการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว
วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงและการเชื่อมโยงอาเซียน
๓.๓
เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองประวัติมุกดาหาร
๓.๔ เพื่อเป็นศูนย์ประชุมสัมมนาอาเซียน
การแสดงสินค้าอาเซียน ตลอดจนการแสดงนิทรรศการหน่วยงานกระทรวงต่างๆ
๔. เป้าหมายโครงการ
เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาส ๖๐ พรรษา ใน พ.ศ.๒๕๕๘ และเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองมุกดาหาร
๕. ขอบเขตพื้นที่ดำเนินการ
ภูผาเจีย (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร) อำเภอเมือง
จังหวัดมุกดาหาร ๔๙๐๐๐ หรือพื้นที่หน่วยงานอื่นที่มีความเหมาะสม
๖.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๓.๑ เป็นศูนย์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาส ๖๐ พรรษา ใน พ.ศ.๒๕๕๘
๓.๒
สนองยุทธศาสตร์ของจังหวัดมุกดาหารในด้านการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว
วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงและการเชื่อมโยงอาเซียน
๓.๓
เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองประวัติมุกดาหาร
๓.๔ เป็นศูนย์ประชุมสัมมนาอาเซียน
การแสดงสินค้าอาเซียน ตลอดจนการแสดงนิทรรศการหน่วยงานกระทรวงต่างๆ
๗.
แผนการดำเนินงาน
๗.๑ ศึกษาสภาพแวดล้อมและบริบทของจังหวัดมุกดาหาร
๗.๒ กำหนด TOR ขอบข่ายพิพิธภัณฑ์เมืองประวัติมุกดาหาร
๗.๓ จ้างเหมาออกแบบ /ประมูลจ้างเหมาออกแบบ/จ้างออกแบบ/เสนองบประมาณ/ประมูลสรรหาผู้รับจ้าง/ดำเนินการจ้าง
๗.๔ ดำเนินการก่อสร้าง
๗.๕ ตรวจรับงาน
๗.๖ ประกันผลงาน
๘.
หน่วยงานร่วมดำเนินการ
๘.๑ จังหวัดมุกดาหาร
๘.๒ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
๙.
ระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี โดยแบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑
ผลงานแล้วเสร็จ จำนวน ๒๐ %
- ปรับบริเวณก่อสร้าง
ปักผังแล้วเสร็จ
-
รั้วโครงการ , ป้ายโครงการ, ไฟฟ้า, ประปา, สำนักงานสนาม แล้วเสร็จ
- ตอกเสาเข็มแล้วเสร็จ
พร้อมส่งรายงานการตอกเสาเข็ม
-
ทดสอบเสาเข็มโดยวิธี Dynamic Load Test
พร้อมส่งรายงานการทดสอบส่งรูปถ่ายการทำงานประจำงวด
ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน เดือน กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๗
ระยะที่ ๒ ผลงานแล้วเสร็จ จำนวน ๓๐ %
-
หล่อฐานรากสะสมได้ไม่น้อยกว่า ๕๐ %
-
คานและพื้นชั้นที่จอดรถสะสมได้ไม่น้อยกว่า
๒๐ %
-
ส่งผลทดสอบเหล็กและคอนกรีต ตามที่มีในเนื้องานประจำงวด
-
ส่งรูปถ่ายการทำงานประจำงวด
ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน
เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ระยะที่ ๓ ผลงานแล้วเสร็จ จำนวน ๕๐ %
-
คานและพื้นชั้นที่จอดรถสะสมได้ไม่น้อยกว่า
๓๕ %
-
งานเสาและบันได คสล. สะสมได้ไม่น้อยกว่า ๕ %
-
ประกอบพร้อมติดตั้งโครงหลังคาสะสมได้ไม่น้อยกว่า
๑๐ %
ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน
เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
๑๐. งบประมาณในการดำเนินงาน จำนวน ๔๖๖,๗๕๐,๐๐๐
บาท โดยรายละเอียดดังนี้
ประมาณราคาค่าก่อสร้าง (Cost
Estimation)
งานสถาปัตยกรรม ๑๐๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานวิศวกรรมโครงสร้าง ๑๔๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ๖๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบสุขาภิบาลและดังเพลิง ๑๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ๕๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานลิฟต์โดยสาร ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
รวมค่าก่อสร้างอาคาร ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เครื่องเรือน ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ระบบภาพ
และเสียง ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ผังบริเวณ
ภูมิทัศน์ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
รวมมูลค่าอาคาร ๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ค่าบริการที่ปรึกษาออกแบบอาคาร
ตามระเบียบพัสดุ ๗,๙๐๐,๐๐๐ บาท
ค่าบริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง
ตามระเบียบพัสดุ ๗,๙๐๐,๐๐๐ บาท
ค่าสำรวจสภาพพื้นที่
๕๐๐,๐๐๐ บาท
ประกอบด้วย งานสำรวจสภาพภูมิประเทศ
งานเจาะสำรวจดินและคุณสมบัติของดินทางวิศวกรรมและงานธรณีฟิสิกส์
ค่าประมาณราคาค่าก่อสร้าง
(ร้อยละ ๐.๑ ของมูลค่าโครงการ) ๔๕๐,๐๐๐ บาท
รวมมูลค่าโครงการ ๔๖๖,๗๕๐,๐๐๐ บาท
๑๑. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ศูนย์ประชุมดังกล่าวสามารถจะรองรับการจัดประชุมสัมมนาอาเซียน
การแสดงสินค้าอาเซียน การแสดงนิทรรศการหน่วยงานกระทรวงต่างๆ
อันจะสนับสนุนยุทธศาสตร์ของจังหวัดมุกดาหารในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา
การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงและเชื่อมโยงอาเซียน
พื้นที่ใช้สอยอาคาร
(AREA
SUMMARY)
ศูนย์ประชุมนานาชาติเบญจสิรินธารา ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้า
มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ ๒๓,๓๙๐ ตารางเมตร
สามารถรองรับกิจกรรมอเนกประสงค์ และรองรับการประชุมได้ ๔,๐๐๐ ที่นั่ง
พื้นที่ชั้นที่ ๑
พื้นที่จอดรถยนต์
๑๖๐ คัน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร
พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์
๒๐๐ คัน ๒๘๐ ตารางเมตร
พื้นที่ถนนภายในที่จอดรถ ๔,๖๓๖ ตารางเมตร
โถงต้อนรับ
๗๕๕ ตารางเมตร
โถงนิทรรศการ
๑๖๐ ตารางเมตร
ศูนย์หนังสือ ๕๔๐ ตารางเมตร
ศูนย์อาหาร
๔๑๘ ตารางเมตร
ลานอเนกประสงค์
๑๗๕ ตารางเมตร
สำนักงานอาคาร ๖๐ ตารางเมตร
ร้านค้า ๔๐ ตารางเมตร
ห้องพักผู้ติดตาม
๖๔ ตารางเมตร
ห้องเตรียมอาหาร
๑๖ ตารางเมตร
ห้องน้ำ ๒๕๓ ตารางเมตร
ห้อง
รปภ. ๑๕ ตารางเมตร
ห้อง
Locker ๕๖ ตารางเมตร
ห้องควบคุม
๒๑ ตารางเมตร
ห้องทำงานฝ่ายอาคาร
๗๕ ตารางเมตร
ห้องไฟฟ้า
MDB ๙๘ ตารางเมตร
ห้องไฟฟ้าสำรอง
๔๐ ตารางเมตร
ห้องเครื่องแอร์
๑๖๘ ตารางเมตร
ห้องเครื่องปั้มป์
๘๔ ตารางเมตร
พื้นที่สัญจร
๑,๑๐๖ ตารางเมตร
รวม ๑ ๑,๐๖๐ ตารางเมตร
พื้นที่ชั้น ๒
ห้องประชุมแบบราบ
๔,๐๐๐
ตารางเมตร
เวที
๕๔๔ ตารางเมตร
พื้นที่หลังเวที
๓๒๓ ตารางเมตร
โถงอเนกประสงค์
๘๓๒ ตารางเมตร
โถงพักรอ
๓๒๓ ตารางเมตร
ห้องสัมมนา
๑๐๐ ที่นั่ง ๒ ห้อง ๔๐๘ ตารางเมตร
ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
๑๖๐ ตารางเมตร
ห้องประทับ
๗๐ ตารางเมตร
ห้องพักรอ
๗๐ ตารางเมตร
ห้องประชาสัมพันธ์
๓๐ ตารางเมตร
ห้องพยาบาล
๒๐ ตารางเมตร
ห้องเตรียมงาน
๖๐ ตารางเมตร
ห้องวิทยากร
๒ ห้อง ๖๕ ตารางเมตร
ห้องเตรียมอาหาร
๓ ห้อง ๑๒๘ ตารางเมตร
ห้องแต่งตัว
๒ ห้อง ๔๐ ตารางเมตร
ห้องเก็บของ
๔๐ ตารางเมตร
ห้องไฟฟ้า
๑๕ ตารางเมตร
ห้องน้ำ
๓๘๘ ตารางเมตร
ที่พักของ
๑๑๒ ตารางเมตร
ลานจอดรถส่งของ
๖๒๑ ตารางเมตร
พื้นที่สัญจร
๑,๒๘๑ ตารางเมตร
รวม ๙,๕๓๐ ตารางเมตร
พื้นที่ชั้นที่ ๓
ห้องสัมมนา
๔ ห้อง ๔๑๐ ตารางเมตร
ศูนย์บริการธุรกิจ
๑๗๐ ตารางเมตร
ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
๒๑๔ ตารางเมตร
ห้อง
AUA ๑๑ ห้อง ๒๓๕ ตารางเมตร
ห้องควบคุม
๒ ห้อง ๓๖ ตารางเมตร
ห้องไฟฟ้า
๓ ห้อง ๓๓ ตารางเมตร
ห้องวิทยากร
๒ ห้อง ๖๔ ตารางเมตร
ห้องเตรียมอาหาร
๒๐ ตารางเมตร
ห้องพักรอ
๕๖ ตารางเมตร
ห้องทำงาน
๒ ห้อง ๔๘ ตารางเมตร
ห้องน้ำ
๔๙ ตารางเมตร
พื้นที่สัญจร
๑,๔๖๕ ตารางเมตร
รวม
๒,๘๐๐ ตารางเมตร
รวมพื้นที่อาคาร
๒๓,๓๙๐ ตารางเมตร
ประมาณราคาค่าก่อสร้าง (Cost Estimation)
งานสถาปัตยกรรม ๑๐๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานวิศวกรรมโครงสร้าง
๑๔๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ๖๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบสุขาภิบาลและดังเพลิง ๑๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ๕๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
งานลิฟต์โดยสาร ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
รวมค่าก่อสร้างอาคาร ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เครื่องเรือน
๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ระบบภาพ
และเสียง
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ผังบริเวณ
ภูมิทัศน์
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
รวมมูลค่าอาคาร ๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ค่าบริการที่ปรึกษาออกแบบอาคาร
ตามระเบียบพัสดุ ๗,๙๐๐,๐๐๐ บาท
ค่าบริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง
ตามระเบียบพัสดุ ๗,๙๐๐,๐๐๐ บาท
ค่าสำรวจสภาพพื้นที่ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
ประกอบด้วย
งานสำรวจสภาพภูมิประเทศ งานเจาะสำรวจดินและ
คุณสมบัติของดินทางวิศวกรรมและงานธรณีฟิสิกส์
ค่าประมาณราคาค่าก่อสร้าง
(ร้อยละ ๐.๑ ของมูลค่าโครงการ) ๔๕๐,๐๐๐ บาท
รวมมูลค่าโครงการ ๔๖๖,๗๕๐,๐๐๐ บาทl