วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปความเป็นมาของการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ณ จังหวัดมุกดาหาร ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน


วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2548 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 1/2548 (ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย นากยกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในขณะนั้น) อนุมัติโครงการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ณ จังหวัดมุกดาหาร (ใช้สถานที่โรงเรียนมุกดาหาร)  โดยตั้งเป็น ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.มุกดาหาร” 


ฯพณฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม  วัฒนชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีประธานพิธีลงนามความร่วมมือวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมอบทุนการศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง) ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ศึกษา ณ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดมุกดาหาร ประจำปีการศึกษา 2548 

วันที่ 8 ธันวาคม 2549 จังหวัดมุกดาหารมอบอาคารโรงเรียนมุกดาลัยหลังเก่าอายุประมาณ 94 ปี (พ.ศ.2461) ให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเพื่อปรับปรุง

วันที่ 17 มีนาคม 2550 สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอนุมัติเงินสำรองมหาวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงอาคารโรงเรียนมุกดาลัย  สำหรับจัดการเรียนการสอน (ต่อเนื่อง) ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาการบัญชี โดยในอนาคต จะเปิดสอนสาขาการท่องเที่ยว สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2550 ศ.พิเศษ ดร.จอมจิน  จันทรสกุล นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  และผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ประธานในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดมุกดาหาร (อาคารโรงเรียนมุกดาลัยหลังเก่าอายุกว่า 90 ปี)

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2550 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมุกดาลัย จังหวัดมุกดาหาร

วันที่  23  สิงหาคม  2550 ผู้อำนวยการส่วนงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ ส่วน 7  (คุณรสริน  เจียมเจริญ) และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมาณเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดมุกดาหาร

วันที่ 21 กันยายน 2550 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย นายกสภามหาวิทยาลัย และ อธิการบดี เดินทางต้อนรับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พล.อ.สรยุทธ์ จุลานนท์) ณ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

วันที่ 21 กันยายน 2550 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย นายกสภามหาวิทยาลัย และ อธิการบดี รายงานการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน  2550 ดร.สุเมธ  แย้มนุ่น  รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา  พร้อมด้วย ศ.พิเศษ ดร.จอมจิน  จันทรสกุล  นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ศ.ดร. ประกอบ  วิโรจนกูฏ อธิการบดี และ  ผศ.ดร.มนูญ   ศรีวิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมประชุมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน  ณ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี (โรงเรียนมุกดาลัย) จังหวัดมุกดาหาร

วันที่ 29 มกราคม 2551 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และจังหวัดมุกดาหาร จัดประชุมร่วมกันในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ณ จังหวัดมุกดาหาร พร้อมนำเสนอบริเวณพื้นที่จัดตั้งวิทยาเขต

วันที่ 29 มกราคม 2551 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย คุณกิตติรัตน์ กุลตังวัฒนา เลขาธิการหอการค้า และสื่อมวลชนจังหวัดมุกดาหาร  เดินทางดูพื้นที่ในจังหวัดมุกดาหาร  3 แห่ง เพื่อพิจารณาพื้นที่จัดตั้งวิทยาเขต

วันเสาร์ที่  19 เมษายน 2551  ศ.(พิเศษ) ดร. จอมจิน  จันทรสกุล (นายกสภามหาวิทยาลัย)  ศ.(พิเศษ) ดร. ยุวัฒน์  วุฒิเมธี (อุปนายกสภามหาวิทยาลัย)  ศ.ดร. อมร  จันทรสมบูรณ์ (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ)  ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ (อธิการบดี) นายนิกร วีสเพ็ญ (ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย)  และกรรมการสภาฯ ดูพื้นที่จัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ใน ที่จังหวัดมุกดาหารมอบให้มหาวิทยาอุบลราชธานี  จำนวน  1134 ไร่

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2551 มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร

วันที่ 7 พฤษภาคม 2551  ฯพณฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม  วัฒนชัย องคมนตรี ส่งจดหมายถึง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประชุมร่วมกับ ตัวแทนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ศ.พิเศษ ดร.จอมจิน จันทรสกุล นายกสภามหาวิทยาลัย) และ ตัวแทนจังหวัดมุกดาหาร (ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร

วันที่ 12 สิงหาคม  2551 ดร.สุชาติ เมืองแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตรวจสอบพื้นที่สำหรับจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร

วันที่ 13 กันยายน 2551 การประชุมร่วมกับชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจในการจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ (รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร) ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์ (รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ ม.อุบลราชธานี) นายวิริยะ ทองผานายก อบจ.(ขณะนั้น) อ.สมบูรณ์ พรมสุ้ย รอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร เป็นต้น

วันที่ 15 กันยายน 2551 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงค์สวัสดิ์)  ให้ความเห็นชอบการใช้พื้นที่ป่าไม้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีวิทยาเขตมุกดาหาร

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 การประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการจัดตั้งวิทยาเขตมุกดาหาร โดยมี ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ (รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร) ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์ (รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาเขตมุกดาหาร  ผู้แทน ม.อุบลราชธานี ) ประชุมร่วมกับประชาชนตำบลมุกดาหาร และทุกท่านเห็นชอบในการจัดตั้งวิทยาเขตในพื้นที่ภูผาเจีย จังหวัดมุกดาหาร มอบพื้นที่อาคารหลังเก่าโรงเรียนมุกดาลัย (อาคาร 6) ให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารเรียน  ศ.พิเศษ ดร.จอมจิน จันทรสกุล (นายกสภามหาวิทยาลัย) พร้อมด้วย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์ (รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ) ดร.กุลภา โภคสวัสดิ์ (รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาเขตมุกดาหาร) และรองผู้อำนวยการโรงเรียนมุกดาลัย   เข้าดูพื้นที่อาคารโรงเรียนมุกดาลัยหลังเก่า  โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดำเนินการก่อสร้าง อาคารศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อรองรับการเปิดสอนหลักสูตร 4 ปี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป) ในปีการศึกษา 2552

วันที่ 25 ธันวาคม  2551 รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ (ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์) และ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร (ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์)  ถวายรายงานการจัดการเรียนการสอน ณ จังหวัดมุกดาหาร พร้อมนี้ได้ถวายรายงานเกี่ยวกับอาคารศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี และมีแผนดำเนินการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา

วันที่ 4 มีนาคม 2552 ดร. สมหมายปรีชาศิลป์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร  ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ นายประทีป โรจนพงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมุกดาลัย ให้การต้อนรับ ผู้แทนสำนักงบประมาณ เยี่ยมชมวิทยาเขตมุกดาหาร   ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี วิทยาเขตมุกดาหาร

วันที่ 1 ตุลาคม 2552 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา (งบประมาณผูกพัน 3 ปี) พรบ.งบประมาณ พ.ศ.2553

วันที่ 12 ตุลาคม  2552 นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานปลูกต้นไม้เพื่อเตรียมรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 21 ธันวาคม 2552 โดยประกอบด้วยต้นยางนา (ต้นยางนา หมายถึงราชาแห่งป่า) และต้นเอกมหาชัย หรือพฤกษาสวรรค์ (ต้นเอกมหาชัย หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่และสูงสุด) การปลูกต้นไม้ทั้ง 2 ชนิด เป็นการแสดงถึงการเริ่มต้นของการสร้างความเจริญ สร้างความรู้ให้กับลูกหลานของจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะเจริญควบคู่กับการปลูกต้นไม้ในวันนี้ (โดยวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2448 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประกาศรวมหอพระสมุดสามแห่ง จัดตั้งเป็น หอสมุดสำหรับพระนคร นับเป็นหอสมุดสาธารณะแห่งแรกของไทยอันเป็นต้นกำเนิดของหอสมุดแห่งชาติ)

วันที่ 21 ธันวาคม  2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา ณ ภูผาเจีย วิทยาเขตมุกดาหาร โดยมีผู้แทนสำนักงบประมาณ (นางฉวีวรรณ  สุคันธรัตน์ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ) ถวายมาลัยพระกร

วันที่ 21 ธันวาคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เทพรัตน์คุรุปการวิทยาเขตมุกดาหาร  โดยมีผู้แทนสำนักงบประมาณ (นางอลิสา ปิ่นประเสริฐ) ถวายมาลัยพระกร ณ อาคารเทพรัตน์คุรุปการ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานข้อเสนอแนะการจัดการเรียนการสอนให้กับนายกสภามหาวิทยาลัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย  อธิการบดี  ณ อาคารเทพรัตน์คุรุปการ 

วันที่ 28 กันยายน 2553 สำนักธนารักษ์พื้นที่มุกดาหาร ได้ขึ้นทะเบียนการใช้พื้นที่ภูผาเจีย สถานที่ก่อสร้าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เป็นที่ราชพัสดุ

วันที่ 5 เมษายน 2554 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบในหลักการในการจัดทำ MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดหาร กับ The Florida State University และสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบในวันที่ 7 พฤษภาคม 2554

วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ตัวแทนจังหวัดมุกดาหาร (ผู้ว่าราชการ หัวหน้าสำนักงาน) เข้าพบท่านนายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี และสภามหาวิทยาลัยในวันที่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เห็นชอบให้มีการลงนามความร่วมมือโครงการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เฉลิมพระเกียรติ มหาราชา”

วันที่ 21 มิถุนายน 2554 วิทยาเขตมุกดาหารได้รับการตรวจการจัดการนอกสถานที่ตั้ง โดยการตรวจของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจาก สกอ.

วันที่ 15 ตุลาคม 2554 ฯพณฯ บุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการลงนามบันทึกความเข้าใจในการพัฒนา โครงการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เฉลิมพระเกียรติ มหาราชา ระหว่างจังหวัดมุกดาหาร และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ฯพณฯ บุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมสถานที่ก่อสร้าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา  ณ ภูผาเจีย

เดือนกุมภาพันธ์ –มีนาคม 2554 เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศนิวซีแลนด์และประเทศญี่ปุ่น ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจการจ้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา ณ ภูผาเจีย วิทยาเขตมุกดาหาร จึงต้องให้ความสำคัญของความปลอดภัยในการใช้อาคารมากที่สุด  โดยเฉพาะประเด็นฐานรากของอาคารที่มีข้อจำกัดในการจะต้องก่อสร้างบนชั้นหิน ณ บริเวณ ภูผาเจีย มีมติให้มีการสำรวจชั้นหินและออกแบบฐานรากของอาคารฯ ให้มีความแข็งแรงเพื่อรองรับกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

วันที่ 6 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา โดยในร่างดังกล่าวข้อ 2.5 อาจใช้การสร้างเป็นวิทยาเขตที่สามารถพัฒนาให้เกิดคุณภาพมากขึ้น มีหลักสูตรการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายคนและแรงงานในการประกอบอาชีพในพื้นที่ ในอนาคตเมื่อมีความพร้อมที่จะเป็นมหาวิทยาลัยก็ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยดังเช่นตัวอย่างมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งนี้ทุกภาคส่วนของจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาเขตด้ว


ประเด็นเสนอ
1.       เห็นควรพิจารณาให้ความเห็นชอบในการดำเนินการเป็นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เฉลิมพระเกียรติ มหาราชา เพราะ
-          เป็นตามไปตาม มติ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา เมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2554
-          เป็นไปตาม บันทึกความเข้าใจในการพัฒนา โครงการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เฉลิมพระเกียรติ มหาราชา ระหว่างจังหวัดมุกดาหาร และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มี ฯพณฯ บุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการลงนามฯ วันที่ 15 ตุลาคม 2554
-          เป็นไปตามมติ สภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เห็นชอบให้มีการลงนามความร่วมมือโครงการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เฉลิมพระเกียรติ มหาราชา”
2.       เห็นควรพิจารณาสนับสนุนงบประมาณพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ณ บริเวณภูผาเจีย วิทยาเขตมุกดาหาร เพราะ
-          เป็นตามไปตาม มติ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา เมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2554
-          เป็นไปตาม บันทึกความเข้าใจในการพัฒนา โครงการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เฉลิมพระเกียรติ มหาราชา ระหว่างจังหวัดมุกดาหาร และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มี ฯพณฯ บุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการลงนามฯ วันที่ 15 ตุลาคม 2554
3.       เห็นควรพิจารณาสนับสนุนงบประมาณด้านการก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชการ เพราะ
-          เป็นตามไปตาม มติ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา เมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2554
-          เป็นไปตาม บันทึกความเข้าใจในการพัฒนา โครงการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เฉลิมพระเกียรติ มหาราชา ระหว่างจังหวัดมุกดาหาร และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มี ฯพณฯ บุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการลงนามฯ วันที่ 15 ตุลาคม 2554
-          เดือนกุมภาพันธ์ –มีนาคม 2554 เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศนิวซีแลนด์และประเทศญี่ปุ่น ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจการจ้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา ณ ภูผาเจีย วิทยาเขตมุกดาหาร จึงต้องให้ความสำคัญของความปลอดภัยในการใช้อาคารมากที่สุด  โดยเฉพาะประเด็นฐานรากของอาคารที่มีข้อจำกัดในการจะต้องก่อสร้างบนชั้นหิน ณ บริเวณ ภูผาเจีย มีมติให้มีการสำรวจชั้นหินและออกแบบฐานรากของอาคารฯ ให้มีความแข็งแรงเพื่อรองรับกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 


File สรุปการจัดการเรียนการสอนอุดมศึกษา ณ จังหวัดมุกดาหาร 

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

คนมุก น่าจะเรียนที่มุก



หลายๆ ท่านเคยมีคำถามเหมือนผู้เขียนหรือไม่ว่า ทำไมเวลาที่เราเรียนระดับมัธยมศึกษาเราก็มักเรียนที่จังหวัดโรงเรียนบ้านเกิด โรงเรียนประจำอำเภอ โรงเรียนประจำจังหวัด แต่พอเมื่อเราโตขึ้นสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย เรามักจะมีข้ออ้างว่าต้องการไปเรียนที่อื่นๆ เพื่อให้ได้ประสบการณ์ เืพื่อได้เรียนรู้การใช้ชีวิต แน่นอนครับ สมัยหลายสิบปีก่อน การศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นมีสถาบันหรือมหาิวิทยาลัยไม่กี่แห่ง โดยเฉพาะภาคอีสานของเรานั้น มีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยหลัก นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่างก็แย่งชิงกันเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย (เนื่องจากรับจำนวนจำกัด) แน่นอนถ้าเป็นอย่างนั้น ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหนของภาคอีสานต่างก็มุ่งสู่จังหวัดขอนแก่น นักเรียนของจังหวัดมุกดาหารก็เช่นกัน ต่างก็มุ่งหวังสู่มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทีอยู่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา (เนื่องจากอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า มหาวิทยาลัยในประเทศไทยขณะนั้นมีจำนวนไม่มาก)

อย่างไรก็ดี เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปจนถึงปัจจุบัน จังหวัดต่างๆ ล้วนมีมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ หรือ อื่นๆ บางจังหวัดไม่มีมหาวิทยาลัยก็มีวิทยาเขต (ของมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ) ดังนั้น มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในการเรียนมากนัก (ซึ่งความเป็นจริงก็ยังคงมีอยู่ คือ ผู้ที่มีฐานะการเงินที่ดีและเรียนเก่ง ก็สามารถที่จะเลือกเรียนในสถาบันมหาวิทยาลัยที่มีชื่อในจังหวัดไกลๆ ไม่่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ หรืออื่นๆ )

ที่นี้ ก็มีคำถามว่า ข้อดีของการเรียนระดับอุดมศึกษาในจังหวัดของตัวเราเอง ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และ ข้อเสีย ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ คนที่เกี่ยวข้องก็ประกอบไปด้วย ผู้เรียน ผู้ปกครอง ที่จะต้องพิจารณา ข้อดี ข้อเสีย แล้วทำการชั่งดูว่า อันไหนจะมากกว่ากัน ซึ่งผู้เขียนก็อนุญาตไม่ออกความคิดเห็นใดๆ ก็แล้วกัน เพราะจะเป็นการชี้นำ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เขียนได้เห็นที่จังหวัดมุกดาหาร (โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของวิทยาเขต) นั้น ผู้เขียนได้เห็นนักศึกาษาคนหนึ่งที่วิทยาเขตมุกดาหาร เข้ามุ่งมั่นที่จะเรียนที่วิทยาเขตมุกดาหาร เพราะ "ตอนเย็นเมื่อเลิกเรียนที่วิทยาเขตมุกดาหาร (อาคารเทพรัตน์คุรุปการ) แล้ว เขาจะไปช่วยคุณแม่ของเขาขายของที่ตลาดราตรี ซึ่งเป็นตลาดโต้รุ่งของเทศบาลมุกดาหาร" หากท่านใดผ่านไปเห็นแล้ว ท่านจะประทัีบใจเป็นอย่างมาก เพราะเขาทำงานช่วยคุณแม่ของเขาอย่างมีความสุข ทำให้ผู้เขียนมานึกย้อนหลังว่า หากเมื่อในอดีตที่จังหวัดของผู้เขียนมีมหาวิทยาลัย ผู้เขียนคงจะได้มีโอกาสกลับมาบ้านช่วยคุณพ่ิอคุณแม่ในการประกอบอาชีพในตอนเย็นหรือวันเสาร์อาทิตย์ ความอบอุ่นความใกล้ชิดคงจะเกิดขึ้น ความเห็นอกเห็นใจในการใช้เงินของลูกก็คงจะเข้าใจความลำบากของคุณพ่อคุณแำม่

ครัีบ ที่กล่าวข้างต้น สำหรับ มุกดาหาร ถึงแม้ว่าจะไม่มีมหาวิทยาลัยเหมือนจังหวัดอื่นๆ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็มีทางเลือกสำหรับนักเรียน (ม.6) ผู้ที่ประสงค์จะเรียนที่จังหวัดมุกดาหาร คือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร ซึ่งอาจจะไม่ใหญ่โตเหมือนกันมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าสิ่งที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร มีความใหญ่โตไม่แพ้ที่อื่นๆ คือ ความเอาใจใส่ของอาจารย์ที่วิทยาเขตมุกดาหารที่มีต่อลูกศิษย์ทุกคน ความใหญ่โตดังกล่าว เป็นสิ่งที่วิทยาเขตมุกดาหารมุ่งมั่นว่า จะให้ความรักต่อนักศึุกษาทุกคนเหมือนคนในครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่า "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร" จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนมุก ที่ต้องการมีเวลาให้กับครอบครัวให้กับคุณพ่อคุณแม่ และคนอื่นๆ เรามาใช้เวลาเหล่านั้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งด้านวิชาการ และด้านสังคมที่อบอุ่นกันเถอะครับ

หมายเหตุ.
มติ ครม. เมื่อวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2554 เห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ ข้อ 2.5 อาจใช้การสร้างเป็นวิทยาเขตที่สามารถพัฒนาให้เกิดคุณภาพมากขึ้น มีหลักสูตรการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายคนและแรงงานในการประกอบอาชีพในพื้นที่ ในอนาคตเมื่อมีความพร้อมที่จะเป็นมหาวิทยาลัยก็ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยดังเช่นตัวอย่างของมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งนี้ทุกภาคส่วนของจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาเขตด้วย



วิสัยทัศน์ใหม่ของจังหวัดมุกดาหาร “เมืองการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน”