วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

คนมุก น่าจะเรียนที่มุก



หลายๆ ท่านเคยมีคำถามเหมือนผู้เขียนหรือไม่ว่า ทำไมเวลาที่เราเรียนระดับมัธยมศึกษาเราก็มักเรียนที่จังหวัดโรงเรียนบ้านเกิด โรงเรียนประจำอำเภอ โรงเรียนประจำจังหวัด แต่พอเมื่อเราโตขึ้นสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย เรามักจะมีข้ออ้างว่าต้องการไปเรียนที่อื่นๆ เพื่อให้ได้ประสบการณ์ เืพื่อได้เรียนรู้การใช้ชีวิต แน่นอนครับ สมัยหลายสิบปีก่อน การศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นมีสถาบันหรือมหาิวิทยาลัยไม่กี่แห่ง โดยเฉพาะภาคอีสานของเรานั้น มีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยหลัก นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่างก็แย่งชิงกันเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย (เนื่องจากรับจำนวนจำกัด) แน่นอนถ้าเป็นอย่างนั้น ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหนของภาคอีสานต่างก็มุ่งสู่จังหวัดขอนแก่น นักเรียนของจังหวัดมุกดาหารก็เช่นกัน ต่างก็มุ่งหวังสู่มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทีอยู่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา (เนื่องจากอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า มหาวิทยาลัยในประเทศไทยขณะนั้นมีจำนวนไม่มาก)

อย่างไรก็ดี เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปจนถึงปัจจุบัน จังหวัดต่างๆ ล้วนมีมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ หรือ อื่นๆ บางจังหวัดไม่มีมหาวิทยาลัยก็มีวิทยาเขต (ของมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ) ดังนั้น มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในการเรียนมากนัก (ซึ่งความเป็นจริงก็ยังคงมีอยู่ คือ ผู้ที่มีฐานะการเงินที่ดีและเรียนเก่ง ก็สามารถที่จะเลือกเรียนในสถาบันมหาวิทยาลัยที่มีชื่อในจังหวัดไกลๆ ไม่่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ หรืออื่นๆ )

ที่นี้ ก็มีคำถามว่า ข้อดีของการเรียนระดับอุดมศึกษาในจังหวัดของตัวเราเอง ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และ ข้อเสีย ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ คนที่เกี่ยวข้องก็ประกอบไปด้วย ผู้เรียน ผู้ปกครอง ที่จะต้องพิจารณา ข้อดี ข้อเสีย แล้วทำการชั่งดูว่า อันไหนจะมากกว่ากัน ซึ่งผู้เขียนก็อนุญาตไม่ออกความคิดเห็นใดๆ ก็แล้วกัน เพราะจะเป็นการชี้นำ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เขียนได้เห็นที่จังหวัดมุกดาหาร (โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของวิทยาเขต) นั้น ผู้เขียนได้เห็นนักศึกาษาคนหนึ่งที่วิทยาเขตมุกดาหาร เข้ามุ่งมั่นที่จะเรียนที่วิทยาเขตมุกดาหาร เพราะ "ตอนเย็นเมื่อเลิกเรียนที่วิทยาเขตมุกดาหาร (อาคารเทพรัตน์คุรุปการ) แล้ว เขาจะไปช่วยคุณแม่ของเขาขายของที่ตลาดราตรี ซึ่งเป็นตลาดโต้รุ่งของเทศบาลมุกดาหาร" หากท่านใดผ่านไปเห็นแล้ว ท่านจะประทัีบใจเป็นอย่างมาก เพราะเขาทำงานช่วยคุณแม่ของเขาอย่างมีความสุข ทำให้ผู้เขียนมานึกย้อนหลังว่า หากเมื่อในอดีตที่จังหวัดของผู้เขียนมีมหาวิทยาลัย ผู้เขียนคงจะได้มีโอกาสกลับมาบ้านช่วยคุณพ่ิอคุณแม่ในการประกอบอาชีพในตอนเย็นหรือวันเสาร์อาทิตย์ ความอบอุ่นความใกล้ชิดคงจะเกิดขึ้น ความเห็นอกเห็นใจในการใช้เงินของลูกก็คงจะเข้าใจความลำบากของคุณพ่อคุณแำม่

ครัีบ ที่กล่าวข้างต้น สำหรับ มุกดาหาร ถึงแม้ว่าจะไม่มีมหาวิทยาลัยเหมือนจังหวัดอื่นๆ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็มีทางเลือกสำหรับนักเรียน (ม.6) ผู้ที่ประสงค์จะเรียนที่จังหวัดมุกดาหาร คือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร ซึ่งอาจจะไม่ใหญ่โตเหมือนกันมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าสิ่งที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร มีความใหญ่โตไม่แพ้ที่อื่นๆ คือ ความเอาใจใส่ของอาจารย์ที่วิทยาเขตมุกดาหารที่มีต่อลูกศิษย์ทุกคน ความใหญ่โตดังกล่าว เป็นสิ่งที่วิทยาเขตมุกดาหารมุ่งมั่นว่า จะให้ความรักต่อนักศึุกษาทุกคนเหมือนคนในครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่า "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร" จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนมุก ที่ต้องการมีเวลาให้กับครอบครัวให้กับคุณพ่อคุณแม่ และคนอื่นๆ เรามาใช้เวลาเหล่านั้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งด้านวิชาการ และด้านสังคมที่อบอุ่นกันเถอะครับ

หมายเหตุ.
มติ ครม. เมื่อวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2554 เห็นชอบร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ ข้อ 2.5 อาจใช้การสร้างเป็นวิทยาเขตที่สามารถพัฒนาให้เกิดคุณภาพมากขึ้น มีหลักสูตรการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายคนและแรงงานในการประกอบอาชีพในพื้นที่ ในอนาคตเมื่อมีความพร้อมที่จะเป็นมหาวิทยาลัยก็ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยดังเช่นตัวอย่างของมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งนี้ทุกภาคส่วนของจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาเขตด้วย



วิสัยทัศน์ใหม่ของจังหวัดมุกดาหาร “เมืองการศึกษา การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น