วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

(ร่าง) โครงการ “ศูนย์ภาษาอาเซียนพลัสจังหวัดมุกดาหาร” (ASEAN plus Language Center of Mukdahan Province : ApLC of Mukdahan)


หลักการและเหตุผล
          เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ความตอนหนึ่งว่า “... ให้ครูเพิ่มพูนความรู้ นักเรียนได้เรียน อย่างที่เขาตั้งใจ ภาษาจีนหรือภาษาต่างประเทศ วิชาที่หาครูสอนได้ยาก และก็ในขณะเดียวกันก็สอนชาวบ้านโดยใช้สื่อเดียวกัน สอนชาวบ้านในด้านภาษา ด้านความรู้ต่างๆ และก็เน้นความรู้ด้านการประกอบอาชีพ เช่น ด้านการเกษตร บางหน่วยวิชาก็สอนเป็นภาษาพื้นเมืองด้วยซ้ำไป…”    และเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ความตอนหนึ่งว่า “... จึงต้องมีการอบรมหรือพยายามฝึกฝนตัวเองเพิ่มเติม ความรู้ที่สำคัญ เช่น ด้านภาษา ภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะเอาสภาพ สิ่งแวดล้อมมาปรับปรุงใช้ สามารถที่จะเอาสิ่งที่มีอยู่มาทำประโยชน์ได้ เราต้องฝึกฝนหาความรู้ด้วยตัวเองก่อน…” นอกจากนั้น เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ความตอนหนึ่งว่า “...แม้แต่ภาษา ภาษาที่ว่าเรียนภาษาไทยให้ดี ๆ ภาษาอังกฤษดี ๆ เพราะว่าเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าวิชาการต่าง ๆ ที่จะให้ตัวเองพัฒนาสูงขึ้นไป แต่เรื่องของภาษาท้องถิ่นนั้น ต้องรักษาเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ...
          นโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยนโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ ๔.๑ นโยบายการศึกษา..๑ เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทย อันประกอบด้วยการยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตำราแห่งชาติที่บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐานทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
          คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ จังหวัดอุดรธานี  เห็นชอบ เรื่อง ผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕  เรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการในกลุ่มพื้นที่ให้สามารถแข่งขันได้เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เสนอโดย สทท.) โดยให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการอบรมผู้ประกอบการโดยเฉพาะในเรื่องภาษาที่จำเป็น และการให้บริการที่ดีและมีคุณภาพระดับสากล โดยคณะรัฐมนตรี มอบหมายกระทรวงแรงงาน ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ พิจารณาจัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนและการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะด้านภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ให้กับผู้ประกอบการและบุคลากรที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว
          ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (เช่น ภาษาอังกฤษ จีน) และเป็นการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา ในเรื่อง      ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น อีกทั้ง เป็นการตอบสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ จังหวัดอุดรธานี ในเรื่องพัฒนาทักษะด้านภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และภาษา ท้องถิ่นที่ใช้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ให้กับผู้ประกอบการและบุคลากรที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว  จึงเห็นสมควรให้จังหวัดมุกดาหารจัดตั้งศูนย์ภาษาอาเซียนพลัสจังหวัดมุกดาหาร (ASEAN plus Language Center of Mukdahan Province : ApLC of Mukdahan) โดยให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

วัตถุประสงค์
๑.      เพื่อเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (เช่น ภาษาอังกฤษ จีน)
๒.      เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา ในเรื่องส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
๓.      เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาทักษะด้านภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และภาษา
๔.      เพื่อเป็นการดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดมุกดาหารในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของจังหวัดมุกดาหาร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.      ทำให้ประชาชนจังหวัดมุกดาหารสำนักในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (เช่น ภาษาอังกฤษ จีน)
๒.      ทำให้จังหวัดมุกดาหารทำงานตามตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา ในเรื่องส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
๓.      ทำให้จังหวัดมุกดาหารดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาทักษะด้านภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และภาษา
๔.      ทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดมุกดาหารในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของจังหวัดมุกดาหารเป็นจริง

วิธีการดำเนินงานในระยะแรก
๑.      ปรับปรุงห้องชั้นล่างของอาคารเทพรัตน์คุรุปการ โดยติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำนวน ๒ เครื่อง
๒.      จัดหาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับรองรับการเรียนรู้ด้านภาษาด้วยตนเองจำนวน ๑๐ ชุด
๓.      จัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการจัดทำสื่อการเรียนภาษาผ่าน Social Media  โดยดำเนินการจัดทำ Web : www.ApLC-MUK.org
๔.      จัดอบรมภาษาอังกฤษ ภาษาจีน (การสื่อสารขั้นพื้นฐาน) ให้กับผู้ประกอบการ นักเรียน ข้าราชการ วันจันทร์ –วันศุกร์  (ภาษาอังกฤษ เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๐๐ น.ภาษาจีน เวลา ๑๙.๐๐-๒๐.๓๐ น. หลักสูตรละ ๓๐ ชั่วโมง) ทั้งนี้ จะต้องมีการเก็บเงินค่าประกันการเรียน จำนวน ๖๐๐ บาท หากเข้าเรียนครบ ๓๐ ชั่วโมงจะได้รับเงินค่าประกันคืน และได้รับใบประกาศจากศูนย์ภาษาอาเซียนพลัสจังหวัดมุกดาหาร
๕.      จัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการจัดทำสื่อการเรียนภาษาผ่าน Social Media  โดยดำเนินการจัดทำ Web : www.ApLC-MUK.org  ซึ่งจะมีข้อมูลด้านผู้ที่เข้ารับการอบรมแต่ละรุ่น  สื่อการสอนภาษาอังกฤษ/ภาษาจีน ระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ/ภาษาจีนของจังหวัดมุกดาหาร ข้อมูลที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหารที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ

วิธีการดำเนินงานในอนาคต
๑.      ใช้อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา (ณ ภูผาเจีย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร) เป็นสถานที่ดำเนินงานของศูนย์ภาษาอาเซียนพลัสจังหวัดมุกดาหาร
๒.      ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดมุกดาหารและรัฐบาล ในการจัดหาอัตรากำลังอาจารย์ผู้สอนด้านภาษาต่างๆ เช่น อังกฤษ จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น เป็นต้น และเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์

งบประมาณ (เดือนมิถุนายน – กันยายน ๒๕๕๕)
๑.      งบลงทุน
-          ปรับปรุงห้อง          จำนวน - บาท
-          จัดหาระบบคอมพิวเตอร์       จำนวน - บาท
-          จัดหาระบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน -บาท
-          จัดหา Domain www.ApLC-MUK.org จำนวน - บาท
๒.      งบสาธารณูปโภค เดือนละ - บาท จำนวน ๔ เดือน เป็นเงิน - บาท
๓.      งบค่าตอบแทน
-          ค่าปฏิบัติงานล่วงเวลาสำหรับอาจารย์และเจ้าหน้า จำนวน วันละ ๔ คน จำนวน -วัน วันละ - บาท เป็นเงินจำนวน -บาท
-          ค่าจัดทำระบบสารสนเทศ www.ApLC-MUK.org  จำนวน - บาท
๔.      งบค่าวัสดุ จำนวน - บาท
๕.      งบอื่นๆ  จำนวน - บาท (ประเมินผลโครงการ ค่าเช่า Domain)
รวมเป็นเงิน - บาท
หมายเหตุ ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ

งบประมาณ (เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ – กันยายน ๒๕๕๖)
๑.      งบสาธารณูปโภค เดือนละ - บาท จำนวน ๑๒ เดือน เป็นเงิน - บาท
๒.      งบค่าตอบแทน
-          ค่าปฏิบัติงานล่วงเวลาสำหรับอาจารย์และเจ้าหน้า จำนวน วันละ ๔ คน จำนวน - วัน วันละ -บาท เป็นเงินจำนวน - บาท
-          ค่าดูแลระบบสารสนเทศ www.ApLC-MUK.org  จำนวน - บาท
๓.      งบค่าวัสดุ จำนวน - บาท
๔.      งบอื่นๆ  จำนวน - บาท (ประเมินผลโครงการ ค่าเช่า Domain)
รวมเป็นเงิน - บาท
หมายเหตุ ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ

ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
๑.      ด้านปริมาณ มีจำนวนผู้ประกอบการ นักเรียน ข้าราชการ และประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร ผ่านการอบรมเพิ่มศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร  และมีผู้ประกอบการ นักเรียน ข้าราชการ และประชาชน ได้รับความรู้ด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารผ่าน Social Media   www.ApLC-MUK.org 
๒.      ด้านคุณภาพ ผู้ประกอบการ นักเรียน ข้าราชการ และประชาชน มีศักยภาพและคุณภาพด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น