วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงการนำโคกระบือกลับอีสานบ้านของเรา

(ร่าง)

โครงการนำโคกระบือกลับอีสานบ้านของเรา

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีจำนวนเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนามีจำนวนมากที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติในการผลิตข้าวเพื่อหล่อเลี้ยงประชาชนชาวไทยตลอดจนส่งข้าวเลี้ยงประชาคมชาวโลก ที่ผ่านมานั้นการผลิตข้าวของชาวนาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยไม่ว่าจะเป็น การใช้เครื่องมือวิศวเกษตรกรรม อุปกรณ์ทันสมัยที่ใช้พลังงานน้ำมัน การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ นั้น ล้วนเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดผลเสียในหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ ในอดีตของชาวนาไทยนั้นต่างใช้วิถีการทำนาโดยธรรมชาติ ใช้โคให้ในการคาดไถพื้นดิน ใช้ปุ๋ยจากมูลของโคหรือที่หาได้จากธรรมชาติ ในปัจจุบันนั้นวิถีดังกล่าวได้ค่อยๆ เลือนหาย การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำนาจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก หากชาวนารายใดไม่มีทรัพย์สินเงินทองก็จะเป็นการจ้างเหมาผู้ที่มีเครื่องมืออุปกรณ์ เช่น การจ้างรถยนต์ปักดำต้นกล้า การจ้างรถยนต์เกี่ยวข้าว เป็นต้น ชาวนาที่ไม่มีเงินทองก็จำเป็นจะต้องกู้ยืมจากผู้ให้กู้ในระบบ (ธนาคารเกษตรและสหกรณ์) หรือผู้ให้กู้นอกระบบ ซึ่งบางฤดูกาลฝนฟ้าไม่เป็นใจชาวนาก็ต้องชอกซ้ำระกำใจเพราะได้การผลการผลิตที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราทุกคนในประเทศไทยของเรามาช่วยกันกลับคืนวิถีชีวิตที่ดั่งเดิมของชาวนาไทยกลับคืนสุ่วิถีของธรรมชาติความพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยให้น้อมนำไปปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนั้น โครงการนำโคกระบือกลับบ้านเรา จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารโคกระบือของกรมปศุสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวนา ชาวนาเกษตรกรได้กลับคืนสู่การทำนาที่ประหยัดต้นทุนต่ำสามารถที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งจะเป็นการสร้างเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนหันมาอนุรักษณ์ควายไว้ใช้ในการเกษตรทำนาทำไร่ไถนา พร้อมไถ่ชีวิตโคกระบือสร้างความสัมพันธ์สานใยระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาค ทั้งนี้ มอบให้เกษตรกรยืมเลี้ยงเพื่อการผลิต มีการติดตามผลประเมินผลการนำไปใช้เพื่อการผลิต พร้อมทั้งมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลโคกระบือในโครงการนี้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วัตถุประสงค์

. เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการกลับคืนสู่วิถีของธรรมชาติ โดยเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์โคกระบือไทยให้ระบือไปทั่วโลก

. เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรกรรมไทยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

. เพื่อส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชาวนาเกษตรกรเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยให้มีความยั่งยืนด้านการทำนา

ผู้รับผิดชอบและหน่วยงานที่รับผิดชอบ

. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร

. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (จังหวัดมุกดาหาร)

. องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร และเทศบาลตำบลมุกดาหาร

. ชาวไทยทุกคนที่รักโคกระบือ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

. ทำให้เกิดการสำนึกถึงคุณประโยชน์ของโคกระบือไทยที่มีต่อเกษตรกรรมของไทย

. ทำให้ทุกคนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการทำนา

. ทำให้เกิดความเข้าใจความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษากับเกษตรกร

. ทำให้เป็นการไถ่ชีวิตของโคกระบือเพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สถานที่ดำเนินการ

ณ ภูผาเจีย (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร) ในพื้นที่จำนวนประมาณ ๕๐ ไร่

งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ

. รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาในการไถ่ชีวิตโคกระบือ

. เงินสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร และ เทศบาลตำบลมุกดาหาร

. เงินสนับสนุนจากองค์กรอื่นๆ ที่เห็นความสำคัญของโคกระบือไทย

วิธีการดำเนินงาน

. สำรวจเกษตรกรที่มีความต้องการโคกระบือ และทำการลงทะเบียนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

. รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อไถ่ชีวิตโคกระบือจากโรงเชือด

. ในกรณีที่มีจำนวนโคกระบือที่กลับคืนสู่บ้านเรามากกว่าจำนวนความต้องการของเกษตรกร จะทำโคกระบือฝึกฝนไว้ที่ ภูผาเจีย (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร)

. ทำการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรเกี่ยวกับโคกระบือที่ได้นำไปฝากเพื่อทำประโยชน์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลภูมิศาสตร์สารสนเทศ สำหรับพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเชิงนโยบายเสนอต่อรัฐบาล

หมายเหตุ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องมีจุดเริ่มต้น ถึงจะสามารถเดินทางไปหาจุดอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะเป้าหมายปลายทางที่ทุกคนตั้งใจร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น